Tuesday, October 13, 2015

ย้ำกันอีกรอบ..ใครเผาบ้านเผาเมือง!!!!!

*******************************************************
ย้ำกันอีกรอบ..ใครเผา!!!!!
*************************************************************************
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ยกฟ้อง 2 แนวร่วม นปช. คดีเผาเซ็นทรัลเวิลด์ เหตุพยานยังให้การไม่ชัด

ที่ ศาลอาญากรุงเทพใต้ วันที่ 5 ก.ย. เวลา 09.30 น. ศาลอ่านคำพิพากษาวางเพลิงเผาศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ คดีหมายเลขแดงที่ 1424/2556 ที่อัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายสายชล แพบัว อายุ 32 ปี ชาว จ.ชัยนาท การ์ด นปช. และนายพินิจ จันทร์ณรงค์ อายุ 30 ปี เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ โรงเรือนที่เก็บสินค้า เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้อง อัยการยื่นอุทธรณ์ คดีนี้โจทก์ฟ้องและนำสืบในศาลชั้นต้นว่า

เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2553 เวลากลางวัน จำเลยทั้งสองกับพวก ร่วมกันชุมนุม และมั่วสุมกันบริเวณสี่แยกราชประสงค์ กทม. ซึ่งอยู่ในระยะเวลาที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และได้เข้าไปในบริเวณอาคารห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ใช้กำลังทำลายบานกระจก ผนังอาคารบานกระจกประตู อาคารเซ็นทาวเวอร์ อาคารเซ็นทรัลเวิลด์ ที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณห้างสรรพสินค้าดังกล่าว จนแตกเสียหายเป็นการกีดขวางการจราจร ขัดขวางต่อการประกอบกิจการของห้าง ทำให้ประชาชนเดือดร้อนเสียหาย และเกรงกลัวอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และจำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันเข้าไปภายในบริเวณอาคารเซ็นทาวเวอร์ และอาคารเซ็นทรัลเวิลด์ ที่เป็นทรัพย์โรงเรือนที่เก็บสินค้าของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และจำเลยกับพวกได้ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ จนทำให้เกิดเพลิงลุกไหม้ ลุกลามเผาอาคารเซ็นทาวเวอร์ และไฟไหม้เผาทรัพย์สินต่างๆ ของผู้เสียหาย ที่มี 270 ราย รวมค่าเสียหาย 8,890,578,649.61 บาท และเป็นเหตุให้ นายกิติพงษ์ หรือกิตติพงษ์ สมสุข ที่อยู่ภายในอาคารดังกล่าวถึงแก่ความตาย เหตุเกิดที่แขวงและเขตปทุมวัน กทม. ขอให้ลงโทษและพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548

จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ โจทก์นำสืบว่า ระหว่าง มี.ค.-พ.ค. 2553 กลุ่ม นปช.ได้จัดชุมนุมทางการเมืองที่แยกราชประสงค์เขตปทุมวัน กทม. ซึ่งมีผลทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าไปซื้อสินค้าและบริการภายในห้างสรรพสินค้าเซน และเซ็นทรัลเวิลด์ที่ได้ปิดบริการชั่วคราว แต่ยังจัดให้มีการรักษาความปลอดภัย 24 ชม.เพื่อดูแลความเรียบร้อยรวมทั้งป้องกันเหตุเพลิงไหม้ ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวรัฐบาลได้ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล โดยห้ามชุมนุมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป โดยหลังจากที่แกนนำประกาศยุติการชุมนุมแล้วได้มีกลุ่มคนร้ายใช้ไม้ และเหล็กทุบกระจกเข้าไปในห้างเซน และใช้ขวดเครื่องดื่มชูกำลังที่บรรจุน้ำมันเป็นเชื้อเพลิงจุดไฟแล้วโยนเข้าไปในบริเวณชั้น 1 ของห้าง

ศาลชั้นต้นพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า โจทก์มี รปภ.ซึ่งเป็นประจักษ์พยานที่เห็นเหตุการณ์ และถ่ายภาพจำเลยที่ 1 ขณะถือถังดับเพลิงสีเขียวของห้างไว้ได้ เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 19 พ.ค. เบิกความ เห็นจำเลยกับกลุ่มคนร้าย 5-6 คน ใช้ไม้ทุบกระจกเข้ามาภายให้ห้าง ซึ่งตนเกิดความหวาดกลัวจึงได้หลบไปอยู่ชั้น 3 ระหว่างนั้นได้ถ่ายภาพจำเลยไว้ด้วย ขณะที่ พงส.ชนะสงคราม ได้ขอหมายศาลจับกุมจำเลยที่ 1 ได้ ศาลเห็นว่าแม้โจทก์มีพยานเป็น รปภ.ซึ่งเป็นผู้ถ่ายภาพของจำเลยที่ 1 ได้ในที่เกิดเหตุ แต่ก็อยู่ห่างจากจุดเกิดเหตุ 30 เมตร และเห็นเพียงว่าจำเลยที่ 1 ถือถังดับเพลิง ซึ่งไม่ใช่อุปกรณ์ที่จะใช้ในการวางเพลิง แม้จะอนุมานไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 จะเข้าไปช่วยดับเพลิงหรือไม่ ประกอบกับพยานโจทก์ปากนี้ก็ไม่สามารถตอบคำถามทนายจำเลยได้ว่าเห็นจำเลยที่ 1 เป็นผู้วางเพลิงหรือไม่ นอกจากนี้ โจทก์ยังไม่มีพยานปากอื่นที่จะมาเบิกความชี้ชัดถึงพฤติการณ์จำเลยที่ 1 ในการวางเพลิง หรือสนับสนุนการวางเพลิงแต่อย่างใด นอกจากภาพถ่ายเพียงใบเดียวที่แสดงให้เห็นเพียงช่วงเวลาหนึ่ง แต่ไม่มีใครเห็นว่าจำเลยที่ 1 จะทำอย่างไรต่อไป พยานโจทก์จึงยังมีเหตุสงสัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนร้ายที่ร่วมทำผิดในคดีนี้หรือไม่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย แต่จำเลยคงมีความผิดฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินเท่านั้น และลงโทษในฐานนี้ 9 เดือน ซึ่งจำเลยถูกขังมาจนครบอัตราโทษแล้ว

ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น โจทก์มีพนักงานห้างเบิกความว่า ขณะเกิดเหตุเห็นคนร้ายประมาณ 40-50 คน มีชาย 4-5 คน เดินนำหน้าใช้หนังสติ๊กยิงใส่เป็นระยะพนักงานจึงหลบหาที่กำบัง และเห็นชายชุดดำลายพรางสวมหมวกปีก ใช้ระเบิดโยนใส่มีคนเจ็บ 9 คน ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมคนร้ายภายในห้างได้จำนวน 9 คน มีจำเลยที่ 2 รวมอยู่ด้วย จึงพาไปคุมตัวที่ลานจอดรถ อย่างไรก็ตาม คำเบิกความของพยานโจทก์กลุ่มนี้ที่สามารถจดจำรูปพรรณสัณฐานจำเลยที่ 2 ได้ตรงกันหมด ยกเว้นเพียงสีเสื้อที่ไม่ตรงกับภาพที่ปรากฏ ทั้งที่ระหว่างพยานต้องคอยหลบลูกหินที่กลุ่มคนร้ายยิงเข้าใส่ อีกทั้งพยานอยู่ห่างไปกว่า 30 เมตรนั้น น่าสงสัยว่าจะสามารถจำคนร้ายได้จริงหรือไม่ นอกจากนี้โจทก์ยังไม่นำเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมจำเลยที่ 2 มาเบิกความถึงการจับกุมจับจำเลยว่าจับกุมได้ที่ชั้นไหน มีวัสดุ หรืออุปกรณ์ หรือมีร่องรอยหลักฐานตามตัวในการวางเพลิงหรือไม่อย่างไร พยานโจทก์ที่นำสืบมานั้นยังมีเหตุสงสัยว่าจำเลยที่ 2 จะกระทำผิดตามฟ้องจริงหรือไม่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย จึงพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาวางเพลิงเผาทรัพย์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า พยานโจทก์ยังไม่พอฟังว่า จำเลยที่ 1 กระทำผิด จึงไม่จำต้องพิจารณาถึงจำเลยที่ 2 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้น ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วย จึงพิพากษายืน ให้ยกฟ้องข้อหาวางเพลิงเผาทรัพย์ นอกจากนั้นให้คงเป็นไปตามศาลชั้นต้น

นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความจำเลยเผยว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โดยเป็นการวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นการยกฟ้องสองศาล ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิอาญามาตรา 220 และอาจขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกาได้ตามมาตรา 221


No comments:

Post a Comment