ทุนจีนยึด เจียงฮาย กว้านซื้อที่ดิน ในทำเลทองของเมือง ไปเกือบหมดแล้วโดยผ่านระบบนอมินี โดยเฉพาะกลุ่มทุนสิงคโปร์ และทุนจีนได้เข้ามาซื้อที่ดิน เมืองชายแดนในอำเภอ แม่สาย เชียงแสน และเชียงของ ซึ่งในตอนนี้ เริ่มมีการก่อสร้างคลังสินค้าหลายแห่งแล้ว นอกจากนั้น ระบบการนำเข้าส่งออกสินค้า กลุ่มทุนจีนก็จะใช้บริการชิปปิ้ง ของทุนจีนด้วยกันเองเท่านั้น
ตอนนี้ใครไปเชียงราย ก็จะพบเห็นชาวจีนหนาตาขึ้น ทั้งในรูปแบบนักท่องเที่ยว นักธุรกิจ และนักศึกษา เพราะมีการส่งบุตรหลาน เข้ามาเล่าเรียนในมหาวิทยาลัย แม่ฟ้าหลวง และมหาวิทยาลัยราชภัฏ เชียงรายหลายพันคน
เป้าหมายชัดเจน คือ การเข้ามาศึกษาเพื่อที่จะ "ทำการค้าขาย-ทำธุรกิจ" ในเมืองไทย สอด คล้องกับนโยบาย ของรัฐบาลจีน ที่สนับสนุนให้พลเมืองจีน "ออกมา" ลงทุน ในต่างประเทศให้มากขึ้น ซึ่งประเทศไทย จัดอยู่ในเป้าหมาย อันดับต้น ๆ เพราะทำเลที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เหมาะที่จะเป็นฐานการผลิต รุกสู่อาเซียนหลัง เปิด AEC
นอกจากนี้ ทุนจีนยังรุกเงียบ กำเงินนับพันล้านบาท กว้านซื้อที่ดินทำเลดี ริมถนน R3A ทั้งฝั่งไทยฝั่งลาว ไล่ซื้อตั้งแต่ห้วยทราย ของลาวข้ามโขงมา ยังเชียงของ เชียงราย ทะลุถึงเชียงใหม่ ลำปาง เล็งเป้าทำโกดัง และศูนย์กระจายสินค้า ต่อยอดธุรกิจชักธงสู่อาเซียน ด้านเอกชน ชี้กระทบแน่ เหตุทุนจีนกระเป๋าหนักแถมต้นทุนต่ำ
นักธุรกิจพ่อค้าผลไม้ชาวจีน เข้ามามีบทบาท ในการควบคุมกลไก การค้าผลไม้ของไทย ชนิดที่แทบจะเรียกได้ว่า "ครบวงจร" เพราะนอกจาก จะยึดกุมปลายทาง ของทั้ง 2 ด้าน ผลไม้จากจีนนำเข้า มายังประเทศไทย ผ่านทางแม่น้ำโขง โดยกองเรือขนส่งสินค้าสัญชาติจีน มาขึ้นที่เชียงแสน ผ่านพิธีการศุลกากร โดยชิปปิ้งชาวจีน โดยมีพ่อค้าจีนคุม ลงมาส่งและกระจายสินค้า ด้วยนักธุรกิจจีนเองถึงตลาดไท
ในทางกลับกัน ผลไม้จากไทย ก็ถูกกว้านซื้อถึงสวน โดยกลุ่มพ่อค้าจีน ที่รวมตัวกันเพื่อสร้างอำนาจต่อรอง ส่งขึ้นไปลงเรือสินค้าสัญชาติจีน ที่เชียงแสน ผ่านพิธีการศุลกากร จากชิปปิ้งชาวจีน เพื่อนำขึ้นไปขายต่อ ในจีนผ่านทางลำน้ำโขง
ผลประโยชน์ที่คนไทย มีส่วนได้ในกระบวนการเหล่านี้ มีเพียง 1. เจ้าของสวนที่สามารถขายผลไม้ จำนวนมากได้อย่างรวดเร็ว แต่ในราคาที่ไม่สูงมากนัก 2. เจ้าของรถห้องเย็น หรือรถปิกอัพ ที่รับจ้างขนผลไม้ จากเชียงรายมายังตลาดไท และขนผลไม้ จากภาคตะวันออก ของไทยไปส่งที่ท่าเรือเชียงแสน
3. หญิงไทยที่รับจ้างแต่งงาน เพื่อใช้ชื่อออกหน้า ในการจัดการเรื่องธุรกิจ รูปแบบการทำธุรกิจลักษณะนี้ มิใช่มีเฉพาะแต่ผลไม้ จากภาคตะวันออกของไทย เท่านั้น แต่รวมถึง การค้าลำไยอบแห้งในภาคเหนือ ที่ระยะหลัง มีปัญหาราคาตกต่ำเกิดขึ้น ทุกปี เพราะทุกวันนี้ การกำหนดราคารับซื้อลำไย ล้วนอยู่ในมือ "พ่อค้าชาวจีน" กว่า 40 ราย ที่เข้ามาลงทุนทำ "ล้ง" ตามจังหวัดต่างๆ ที่เป็นแหล่งผลิตลำไย
การที่พ่อค้าจีนเหล่านี้ สามารถกำหนดราคา รับซื้อกันเองได้ชนิดวันต่อวัน เพราะคนกลุ่มนี้ เป็นผู้ผูกขาดซื้อล็อตใหญ่อยู่เพียงกลุ่มเดียว
ขณะที่สินค้าอื่นๆ ของไทย อาทิ พืชผักหลายชนิด ซึ่งเป็นที่ต้องการบริโภค ในจีน กลุ่มพ่อค้าจีน ก็ใช้วิธีการรวมกลุ่มกัน ไปจองซื้อถึงสวน ในจังหวัดนครปฐมและขนขึ้นไปส่ง ยังท่าเรือเชียงแสนเช่นกัน
ย่านห้วยขวาง และสุทธิสาร กำลังกลายเป็นชุมชน ที่พักอาศัยของชาวจีน แห่งใหม่ คล้ายคลึง.
No comments:
Post a Comment