http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1304592749&grpid=01&catid&subcatid
วันที่ 06 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เวลา 09:30:00 น.
โศกนาฏกรรมเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547 หรือที่รู้จักกันดีในนาม "เหตุการณ์กรือเซะ" ซึ่งก่อความสูญเสียชีวิตผู้คนและเจ้าหน้าที่รัฐรวม 108 ชีวิตนั้น จนถึงวันนี้ยังคงเป็นปริศนาดำมืดว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร เหตุใดวัยรุ่นและชายฉกรรจ์มุสลิมนับร้อยคนซึ่งส่วนใหญ่มีเพียง "มีด" กับ "กริช" จึงกล้าบุกเข้าโจมตีป้อมจุดตรวจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ซึ่งมีอาวุธครบมือ
และเหตุใดจึงมีการ "ตายหมู่" ที่มัสยิดกรือเซะ มัสยิดเก่าแก่ซึ่งเป็นดั่งสัญลักษณ์อิสลามในดินแดนปลายสุดด้ามขวานเขตประเทศไทย โดยคำตอบของคำถามดังกล่าวนี้ไม่น่าจะเป็นแค่ลักษณะกำปั้นทุบดินที่ว่า "เพราะทหารยิงอาวุธหนักเข้าไป" แต่สิ่งที่น่าค้นหาคือทำไมสถานการณ์จึงประจวบเหมาะและจบลงตรงสถานที่ประวัติศาสตร์แห่งนั้น
การสืบเสาะค้นหาความจริงเบื้องหลังเหตุการณ์มีมาตลอดหลายปีทั้งจากฝ่ายความมั่นคงเอง และคณะกรรมาธิการวิสามัญบางชุดของวุฒิสภา ในส่วนของฝ่ายความมั่นคงนั้นเชื่อว่าเป็นความพยายามของกลุ่มก่อความไม่สงบที่มีอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนวาดแผนการนี้ขึ้นและจงใจให้เกิดความสูญเสียขนาดใหญ่ เพื่อยกประเด็นแบ่งแยกสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (รัฐปาตานีในอดีต) ขึ้นสู่เวทีนานาชาติ
ขณะที่ฝ่ายกรรมาธิการวิสามัญของวุฒิสภาบางท่าน (ปัจจุบันเป็นอดีตไปแล้ว) ซึ่งเคยลงพื้นที่ไต่สวนเรื่องนี้เห็นว่า เป็นการวางแผนของฝ่ายความมั่นคงที่รู้ข้อมูลการข่าวมาก่อนล่วงหน้า แต่จงใจให้เกิดการปะทะ โดยเชื่อว่าจะสามารถกวาดล้างขบวนการที่มีอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนได้ทั้งหมดหรือเป็นส่วนใหญ่
อย่างไรก็ดียังมีข้อมูลจากบุคคลในพื้นที่อีกหลายชุดที่อาจจะยังไม่เคยเปิดเผยที่ไหน ซึ่งจะเรียกว่าเป็น "พยานปากเอก" ก็น่าจะได้ เพราะเขารอดชีวิตโดยบังเอิญจากความรุนแรงที่ไม่แน่ชัดว่าฝ่ายใด "จัดฉาก" ให้เกิดขึ้น
เปิดปาก "พยานปากเอก"
มิง (นามสมมติ) ชายหนุ่มวัยใกล้ 30 ปี คือบุคคลที่เรากำลังพูดถึง เขายืนยันว่ารอดชีวิตจากเหตุการณ์วันที่ 28 เมษาฯ เพราะไม่ได้ไปร่วมก่อเหตุตามนัด!
เรื่องราวของมิงเป็นที่รับรู้กันในวงแคบ คือเฉพาะตัวเขากับเพื่อนๆ กลุ่มหนึ่งเท่านั้น เพราะหลังจากเกิดเหตุการณ์ เขาต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างหวาดผวา กระทั่งเวลาล่วงผ่านมานานปี ในวาระครบรอบ 7 ปีเหตุการณ์กรือเซะ เขาจึงยอมเปิดเผยสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเขาเป็นครั้งแรกเพื่อบอกเล่าความจริงบางด้านของเหตุการณ์ร้ายในครั้งนั้นที่เขา(เกือบ) เคยมีส่วนร่วม
"จริงๆ ผมน่าจะตายไปแล้วด้วยซ้ำ หากวันนั้น (วันที่ 28 เมษาฯ 2547) ผมไม่มีปัญหาทางบ้านพอดี" มิงเริ่มต้นเรื่องราวของเขาด้วยภาษามลายูถิ่น
มิง เล่าว่า ช่วงปี 2547 เขากำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามแห่งหนึ่งใน จ.ยะลา เขาต้องเรียนไปด้วยทำงานไปด้วยเพราะฐานะทางบ้านไม่ค่อยดี จึงเลือกเข้าเรียนกะเช้า เพื่อจะได้มีเวลาทำงานในตอนเย็น
"ช่วงที่ผมเรียนอยู่ ผมได้รับเลือกเป็นหัวหน้าห้อง ทุกๆ สัปดาห์อุสตาซ (ครู) จะเรียกหัวหน้าห้องทุกห้องไปประชุม ทุกครั้งที่มีการประชุมกัน อุสตาซจะให้หัวหน้าห้องทุกห้องหาเด็กในห้องของตนเองมาเข้าร่วมประชุมด้วย 5 คน โดยเน้นว่าต้องเป็นเด็กดี เรียนเก่ง ตอนแรกผมก็ไม่รู้ว่าอุสตาซให้หาเด็กมาทำอะไร เพราะเขาบอกเพียงว่ามาทำฮิดายะห์ (นำทาง หรือการชี้นำ) ผมก็นึกว่าเป็นการอบรมธรรมดาทั่วไป"
"ทุกครั้งที่เด็กมาร่วมประชุม อุสตาซจะบรรยายเรื่องประวัติศาสตร์ของรัฐปาตานีในอดีต จากนั้นก็จะพูดให้เกลียดชังคนนอกศาสนาและเจ้าหน้าที่รัฐ สัปดาห์หนึ่งจะนัดไปฟังบรรยาย 5 วัน โดยผู้ที่มาบรรยายไม่รู้เป็นใครมาจากไหน ไม่มีนักเรียนรู้จัก"
มิง เล่าต่อว่า เมื่อเสร็จจากการอบรม หรือ "ฮิดายะห์" แล้ว อุสตาซก็จะนัดพวกนักเรียนให้ไปอบรมต่อตามมัสยิดในพื้นที่ต่างๆ โดยผู้บรรยายจะเปลี่ยนคนไปเรื่อยๆ และเปลี่ยนหัวข้อบรรยายไปเรื่อยๆ เช่น ความรุ่งเรืองของรัฐปาตานีในอดีต, ความเกลียดชังคนไทยพุทธ, ความอยุติธรรมของรัฐบาลไทยที่กระทำต่อคนมลายู
"บรรยากาศตอนบรรยายจะนั่งฟังร่วมกับชาวบ้าน ในมัสยิดเงียบกริบ ไม่มีเสียงอื่นใดเลยนอกจากเสียงของผู้บรรยาย คนที่เข้าร่วมอบรมจะนั่งฟังด้วยความตั้งใจ สนใจ บางคนถึงกับหน้าแดงร้องไห้ บางคนก็แสดงอาการโกธรเกลียดรัฐและคนนอกศาสนา"
มิง บอกว่า หลังจากเดินสายฟังบรรยายได้ประมาณ 2 เดือน ก็เริ่มเข้าสู่การฝึกอบรมขั้นต่อไป
"อุสตาซนัดให้ผมกับเพื่อนนักเรียนไปรวมกันที่ชายทะเลแถวๆ อ.เทพา จ.สงขลา และ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี เพื่อทดสอบร่างกาย โดยครั้งแรกครูที่เป็นคนฝึกจะให้วิ่งจับเวลา จากนั้นจะฝึกหลายอย่างมาก มีการฝึกใช้อาวุธโดยใช้ไม้แทนปืนด้วย ฝึกอยู่ 3 วัน 3 คืน เมื่อฝึกเสร็จก็แยกย้ายกันกลับบ้าน ตอนนั้นผมเริ่มรู้ข้อมูลว่ามีการฝึกกันแบบนี้มาหลายรุ่นแล้ว แต่ก็ไม่รู้ว่ากี่รุ่น รู้แต่เพียงว่ารุ่นของผมเป็นรุ่นสิบกว่าๆ"
และแล้วก็ถึงวันสำคัญซึ่งกลุ่มนักเรียนที่ผ่านการฝึกอบรมไม่มีใครรู้ล่วงหน้า...
"ช่วงก่อนวันที่28 เมษาฯ อุสตาซก็นัดเด็กนักเรียนไปรวมตัวกันในสถานที่แห่งหนึ่ง (มิงไม่ยอมเปิดเผยว่าเป็นที่ไหน) ผมกับเพื่อนๆ ก็เดินทางไปตามนัด เมื่อไปถึงก็เจอผู้ชายคนหนึ่งแต่งตัวเหมือนบาบอ (ครูสอนศาสนาชั้นผู้ใหญ่) จากนั้นชายคนนี้ก็เรียกให้ทุกคนไปนั่งร่วมประชุม ซึ่งมีคนไปประมาณร้อยกว่าคน เสร็จแล้วก็ให้ท่องบทสวดเป็นภาษาอาหรับ 3 บท ตอนที่ท่องบทสวดนั้นจะรู้สึกว่าตัวเองใหญ่กว่าคนอื่น เห็นคนอื่นเล็กไปหมด คิดว่าทุกคนที่ไปร่วมพิธีก็รู้สึกแบบเดียวกัน ใครพูดไม่ถูกหูก็จะเข้าไปบีบคอทันที ไม่กลัวใครเลย ยิ่งเห็นทหาร ตำรวจจะเข้าไปบีบคอให้ได้ จากนั้นก็มีการพูดปลุกระดมเรื่องรัฐปาตานีอีก"
"ต่อมาวันที่ 27 เมษาฯ ก่อนเกิดเหตุ 1 วัน อุสตาซคนเดิมได้นัดให้ไปรวมตัวกันที่น้ำตกแห่งหนึ่งในพื้นที่ โดยกลุ่มของผมไปกัน 20 คน เมื่อไปถึงที่หมายก็ตกใจมากเมื่อเห็นว่าคนที่มาประชุมคราวนี้มีมากกว่าที่ผ่านๆ มา จากที่ได้สอบถามเพื่อนทั้ง 20 คนที่มาด้วยกัน ไม่มีใครรู้จักคนอีกหลายร้อยที่กำลังเข้าร่วมประชุมในคืนนั้นเลย"
มิงเล่าอีกว่า คืนนั้นได้พบกับบาบอคนเดิม และก็มาปลุกระดมเหมือนกับทุกครั้ง เรื่องที่พูดก็เป็นข้อมูลเชิงลบของรัฐ คนนอกศาสนา และตำรวจ ทหาร ขณะที่เขานั่งฟังอยู่อย่างสงบ ก็มีโทรศัพท์จากทางบ้านตามตัวให้เขากลับบ้านด่วน
"จู่ๆ ที่บ้านก็โทร.มา บอกว่ามีปัญหาให้กลับด่วน ผมจึงชวนเพื่อนอีกคนให้กลับด้วยกัน อุสตาซก็ไม่ว่าอะไร เพราะคนเยอะมาก และไม่รู้เรื่องอีกเลยว่าที่น้ำตกแห่งนั้นในคืนนั้นเขาทำอะไรกันต่อ"
มิงบอกว่า เขามาได้ข่าวเกี่ยวกับเพื่อนๆ ที่ไปร่วมประชุมวันนั้นในอีก 1 วันถัดมาว่ามีหลายคนเสียชีวิต
"เพื่อนสิบกว่าคนที่ร่วมประชุมด้วยกันที่น้ำตกไปตายในวันที่ 28 เมษาฯ ตายที่ อ.สะบ้าย้อย (จ.สงขลา) 3 คน (เป็นนักกีฬาทีมฟุตบอลเยาวชน) ส่วนที่เหลือตายที่มัสยิดกรือเซะ ทีแรกเพื่อนที่กลับมาด้วยกันมาบอก ผมไม่เชื่อ หาว่าเขาโกหก เลยชวนกันไปดู แทบล้มทั้งยืนเลย เพราะในใจรู้แล้วว่าถูกหลอก แต่ไม่รู้ว่าใครหลอก รู้แต่ว่าถูกหลอกแน่นอน หลอกให้เกิดเรื่องแบบนี้ และมีการตายเกิดขึ้น ถือว่าโชคเข้าข้างผม ไม่อย่างนั้นก็คงต้องตายเหมือนเพื่อนๆ ในกลุ่มอย่างแน่นอน"
ทุกวันนี้แม้เวลาจะผ่านมาถึง 7 ปีแล้ว แต่มิงบอกว่ายังจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นได้ดี เมื่อครบรอบเหตุการณ์วันที่ 28 เมษาฯในแต่ละปี เขาจะมานั่งคิดย้อนไปถึงช่วงนั้นว่าเขากับเพื่อนๆ ไปทำอะไรกัน โดยเฉพาะการประชุมที่น้ำตกในคืนก่อนวันที่ 28 เมษาฯ
"มันเป็นอะไรที่ลืมยากมาก เพื่อนต้องเจอจุดจบเพราะถูกหลอก เพราะรู้ไม่ทันคน"
แม้จะรู้ว่าถูกหลอก แต่เครื่องหมายคำถามก็ยังมีอยู่มากมายในหัวใจของมิง...
"ผมกับอีกหลายคนที่รอดชีวิตจากวันนั้นได้มานั่งถามกันเองว่าถูกใครหลอกกันแน่ เพราะบาบอและอุสตาซที่มาปลุกระดมก็หายตัวไปหลังจากเกิดเหตุ ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้ตาย ส่วนเจ้าหน้าที่รัฐเองก็รู้ทัน แม้ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่มีการสับเปลี่ยนกำลัง ผมเลยไม่รู้ว่าการตายครั้งนั้นเกิดจากกลุ่มขบวนการหลอกหรือเจ้าหน้าที่รัฐหลอกกันแน่" มิงตั้งคำถามทิ้งท้าย
คำถามอันแหลมคมของมิง จะว่าไปก็เป็นคำถามที่กรรมาธิการวิสามัญวุฒิสภาบางท่านเคยตั้งมาแล้วว่าฝ่ายความมั่นคงน่าจะรู้ล่วงหน้าเกี่ยวกับเหตุการณ์วันที่28 เมษาฯ แต่ทำไมถึงเลือกใช้วิธีการในลักษณะกวาดล้าง หรือเพราะประเมินว่ากำลังคนของฝ่ายก่อความไม่สงบน่าจะมีอยู่เท่านี้
ทว่าสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้นับจากวันนั้นจนถึงวันนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเหตุการณ์วันที่ 28 เมษาฯ โดยเฉพาะที่มัสยิดกรือเซะนั้น ได้กลายเป็นการสร้างเงื่อนไขใหม่ให้เกิดการปลุกปั่นปลุกระดมและความแค้น มีเครือข่ายแนวร่วมก่อความไม่สงบขยายวงกว้างมากขึ้นจนเหตุการณ์ความไม่สงบบานปลายมาจนถึงปัจจุบัน
ฉะนั้นหากเด็กหนุ่มอย่างมิงและเพื่อนๆของเขาถูกคนของขบวนการแบ่งแยกดินแดนหรืออ้างว่ามีอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนหลอกเพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง คำถามที่รัฐต้องตอบก็คือ แล้วเจ้าหน้าที่รัฐโดยเฉพาะฝ่ายทหารที่ปฏิบัติการในวันนั้นถูกใครหลอก...
ใครกันที่ทำให้เหตุการณ์กรือเซะกลายเป็นประวัติศาสตร์บาดแผล และเป็นเชื้อเพลิงให้ไฟใต้คุโชน?
( เรื่อง / ภาพ ทีมข่าวอิศรา )
วันที่ 06 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 เวลา 09:30:00 น.
โศกนาฏกรรมเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2547 หรือที่รู้จักกันดีในนาม "เหตุการณ์กรือเซะ" ซึ่งก่อความสูญเสียชีวิตผู้คนและเจ้าหน้าที่รัฐรวม 108 ชีวิตนั้น จนถึงวันนี้ยังคงเป็นปริศนาดำมืดว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร เหตุใดวัยรุ่นและชายฉกรรจ์มุสลิมนับร้อยคนซึ่งส่วนใหญ่มีเพียง "มีด" กับ "กริช" จึงกล้าบุกเข้าโจมตีป้อมจุดตรวจของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ซึ่งมีอาวุธครบมือ
และเหตุใดจึงมีการ "ตายหมู่" ที่มัสยิดกรือเซะ มัสยิดเก่าแก่ซึ่งเป็นดั่งสัญลักษณ์อิสลามในดินแดนปลายสุดด้ามขวานเขตประเทศไทย โดยคำตอบของคำถามดังกล่าวนี้ไม่น่าจะเป็นแค่ลักษณะกำปั้นทุบดินที่ว่า "เพราะทหารยิงอาวุธหนักเข้าไป" แต่สิ่งที่น่าค้นหาคือทำไมสถานการณ์จึงประจวบเหมาะและจบลงตรงสถานที่ประวัติศาสตร์แห่งนั้น
การสืบเสาะค้นหาความจริงเบื้องหลังเหตุการณ์มีมาตลอดหลายปีทั้งจากฝ่ายความมั่นคงเอง และคณะกรรมาธิการวิสามัญบางชุดของวุฒิสภา ในส่วนของฝ่ายความมั่นคงนั้นเชื่อว่าเป็นความพยายามของกลุ่มก่อความไม่สงบที่มีอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนวาดแผนการนี้ขึ้นและจงใจให้เกิดความสูญเสียขนาดใหญ่ เพื่อยกประเด็นแบ่งแยกสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (รัฐปาตานีในอดีต) ขึ้นสู่เวทีนานาชาติ
ขณะที่ฝ่ายกรรมาธิการวิสามัญของวุฒิสภาบางท่าน (ปัจจุบันเป็นอดีตไปแล้ว) ซึ่งเคยลงพื้นที่ไต่สวนเรื่องนี้เห็นว่า เป็นการวางแผนของฝ่ายความมั่นคงที่รู้ข้อมูลการข่าวมาก่อนล่วงหน้า แต่จงใจให้เกิดการปะทะ โดยเชื่อว่าจะสามารถกวาดล้างขบวนการที่มีอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนได้ทั้งหมดหรือเป็นส่วนใหญ่
อย่างไรก็ดียังมีข้อมูลจากบุคคลในพื้นที่อีกหลายชุดที่อาจจะยังไม่เคยเปิดเผยที่ไหน ซึ่งจะเรียกว่าเป็น "พยานปากเอก" ก็น่าจะได้ เพราะเขารอดชีวิตโดยบังเอิญจากความรุนแรงที่ไม่แน่ชัดว่าฝ่ายใด "จัดฉาก" ให้เกิดขึ้น
เปิดปาก "พยานปากเอก"
มิง (นามสมมติ) ชายหนุ่มวัยใกล้ 30 ปี คือบุคคลที่เรากำลังพูดถึง เขายืนยันว่ารอดชีวิตจากเหตุการณ์วันที่ 28 เมษาฯ เพราะไม่ได้ไปร่วมก่อเหตุตามนัด!
เรื่องราวของมิงเป็นที่รับรู้กันในวงแคบ คือเฉพาะตัวเขากับเพื่อนๆ กลุ่มหนึ่งเท่านั้น เพราะหลังจากเกิดเหตุการณ์ เขาต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างหวาดผวา กระทั่งเวลาล่วงผ่านมานานปี ในวาระครบรอบ 7 ปีเหตุการณ์กรือเซะ เขาจึงยอมเปิดเผยสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวเขาเป็นครั้งแรกเพื่อบอกเล่าความจริงบางด้านของเหตุการณ์ร้ายในครั้งนั้นที่เขา(เกือบ) เคยมีส่วนร่วม
"จริงๆ ผมน่าจะตายไปแล้วด้วยซ้ำ หากวันนั้น (วันที่ 28 เมษาฯ 2547) ผมไม่มีปัญหาทางบ้านพอดี" มิงเริ่มต้นเรื่องราวของเขาด้วยภาษามลายูถิ่น
มิง เล่าว่า ช่วงปี 2547 เขากำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามแห่งหนึ่งใน จ.ยะลา เขาต้องเรียนไปด้วยทำงานไปด้วยเพราะฐานะทางบ้านไม่ค่อยดี จึงเลือกเข้าเรียนกะเช้า เพื่อจะได้มีเวลาทำงานในตอนเย็น
"ช่วงที่ผมเรียนอยู่ ผมได้รับเลือกเป็นหัวหน้าห้อง ทุกๆ สัปดาห์อุสตาซ (ครู) จะเรียกหัวหน้าห้องทุกห้องไปประชุม ทุกครั้งที่มีการประชุมกัน อุสตาซจะให้หัวหน้าห้องทุกห้องหาเด็กในห้องของตนเองมาเข้าร่วมประชุมด้วย 5 คน โดยเน้นว่าต้องเป็นเด็กดี เรียนเก่ง ตอนแรกผมก็ไม่รู้ว่าอุสตาซให้หาเด็กมาทำอะไร เพราะเขาบอกเพียงว่ามาทำฮิดายะห์ (นำทาง หรือการชี้นำ) ผมก็นึกว่าเป็นการอบรมธรรมดาทั่วไป"
"ทุกครั้งที่เด็กมาร่วมประชุม อุสตาซจะบรรยายเรื่องประวัติศาสตร์ของรัฐปาตานีในอดีต จากนั้นก็จะพูดให้เกลียดชังคนนอกศาสนาและเจ้าหน้าที่รัฐ สัปดาห์หนึ่งจะนัดไปฟังบรรยาย 5 วัน โดยผู้ที่มาบรรยายไม่รู้เป็นใครมาจากไหน ไม่มีนักเรียนรู้จัก"
มิง เล่าต่อว่า เมื่อเสร็จจากการอบรม หรือ "ฮิดายะห์" แล้ว อุสตาซก็จะนัดพวกนักเรียนให้ไปอบรมต่อตามมัสยิดในพื้นที่ต่างๆ โดยผู้บรรยายจะเปลี่ยนคนไปเรื่อยๆ และเปลี่ยนหัวข้อบรรยายไปเรื่อยๆ เช่น ความรุ่งเรืองของรัฐปาตานีในอดีต, ความเกลียดชังคนไทยพุทธ, ความอยุติธรรมของรัฐบาลไทยที่กระทำต่อคนมลายู
"บรรยากาศตอนบรรยายจะนั่งฟังร่วมกับชาวบ้าน ในมัสยิดเงียบกริบ ไม่มีเสียงอื่นใดเลยนอกจากเสียงของผู้บรรยาย คนที่เข้าร่วมอบรมจะนั่งฟังด้วยความตั้งใจ สนใจ บางคนถึงกับหน้าแดงร้องไห้ บางคนก็แสดงอาการโกธรเกลียดรัฐและคนนอกศาสนา"
มิง บอกว่า หลังจากเดินสายฟังบรรยายได้ประมาณ 2 เดือน ก็เริ่มเข้าสู่การฝึกอบรมขั้นต่อไป
"อุสตาซนัดให้ผมกับเพื่อนนักเรียนไปรวมกันที่ชายทะเลแถวๆ อ.เทพา จ.สงขลา และ อ.ยะหริ่ง จ.ปัตตานี เพื่อทดสอบร่างกาย โดยครั้งแรกครูที่เป็นคนฝึกจะให้วิ่งจับเวลา จากนั้นจะฝึกหลายอย่างมาก มีการฝึกใช้อาวุธโดยใช้ไม้แทนปืนด้วย ฝึกอยู่ 3 วัน 3 คืน เมื่อฝึกเสร็จก็แยกย้ายกันกลับบ้าน ตอนนั้นผมเริ่มรู้ข้อมูลว่ามีการฝึกกันแบบนี้มาหลายรุ่นแล้ว แต่ก็ไม่รู้ว่ากี่รุ่น รู้แต่เพียงว่ารุ่นของผมเป็นรุ่นสิบกว่าๆ"
และแล้วก็ถึงวันสำคัญซึ่งกลุ่มนักเรียนที่ผ่านการฝึกอบรมไม่มีใครรู้ล่วงหน้า...
"ช่วงก่อนวันที่28 เมษาฯ อุสตาซก็นัดเด็กนักเรียนไปรวมตัวกันในสถานที่แห่งหนึ่ง (มิงไม่ยอมเปิดเผยว่าเป็นที่ไหน) ผมกับเพื่อนๆ ก็เดินทางไปตามนัด เมื่อไปถึงก็เจอผู้ชายคนหนึ่งแต่งตัวเหมือนบาบอ (ครูสอนศาสนาชั้นผู้ใหญ่) จากนั้นชายคนนี้ก็เรียกให้ทุกคนไปนั่งร่วมประชุม ซึ่งมีคนไปประมาณร้อยกว่าคน เสร็จแล้วก็ให้ท่องบทสวดเป็นภาษาอาหรับ 3 บท ตอนที่ท่องบทสวดนั้นจะรู้สึกว่าตัวเองใหญ่กว่าคนอื่น เห็นคนอื่นเล็กไปหมด คิดว่าทุกคนที่ไปร่วมพิธีก็รู้สึกแบบเดียวกัน ใครพูดไม่ถูกหูก็จะเข้าไปบีบคอทันที ไม่กลัวใครเลย ยิ่งเห็นทหาร ตำรวจจะเข้าไปบีบคอให้ได้ จากนั้นก็มีการพูดปลุกระดมเรื่องรัฐปาตานีอีก"
"ต่อมาวันที่ 27 เมษาฯ ก่อนเกิดเหตุ 1 วัน อุสตาซคนเดิมได้นัดให้ไปรวมตัวกันที่น้ำตกแห่งหนึ่งในพื้นที่ โดยกลุ่มของผมไปกัน 20 คน เมื่อไปถึงที่หมายก็ตกใจมากเมื่อเห็นว่าคนที่มาประชุมคราวนี้มีมากกว่าที่ผ่านๆ มา จากที่ได้สอบถามเพื่อนทั้ง 20 คนที่มาด้วยกัน ไม่มีใครรู้จักคนอีกหลายร้อยที่กำลังเข้าร่วมประชุมในคืนนั้นเลย"
มิงเล่าอีกว่า คืนนั้นได้พบกับบาบอคนเดิม และก็มาปลุกระดมเหมือนกับทุกครั้ง เรื่องที่พูดก็เป็นข้อมูลเชิงลบของรัฐ คนนอกศาสนา และตำรวจ ทหาร ขณะที่เขานั่งฟังอยู่อย่างสงบ ก็มีโทรศัพท์จากทางบ้านตามตัวให้เขากลับบ้านด่วน
"จู่ๆ ที่บ้านก็โทร.มา บอกว่ามีปัญหาให้กลับด่วน ผมจึงชวนเพื่อนอีกคนให้กลับด้วยกัน อุสตาซก็ไม่ว่าอะไร เพราะคนเยอะมาก และไม่รู้เรื่องอีกเลยว่าที่น้ำตกแห่งนั้นในคืนนั้นเขาทำอะไรกันต่อ"
มิงบอกว่า เขามาได้ข่าวเกี่ยวกับเพื่อนๆ ที่ไปร่วมประชุมวันนั้นในอีก 1 วันถัดมาว่ามีหลายคนเสียชีวิต
"เพื่อนสิบกว่าคนที่ร่วมประชุมด้วยกันที่น้ำตกไปตายในวันที่ 28 เมษาฯ ตายที่ อ.สะบ้าย้อย (จ.สงขลา) 3 คน (เป็นนักกีฬาทีมฟุตบอลเยาวชน) ส่วนที่เหลือตายที่มัสยิดกรือเซะ ทีแรกเพื่อนที่กลับมาด้วยกันมาบอก ผมไม่เชื่อ หาว่าเขาโกหก เลยชวนกันไปดู แทบล้มทั้งยืนเลย เพราะในใจรู้แล้วว่าถูกหลอก แต่ไม่รู้ว่าใครหลอก รู้แต่ว่าถูกหลอกแน่นอน หลอกให้เกิดเรื่องแบบนี้ และมีการตายเกิดขึ้น ถือว่าโชคเข้าข้างผม ไม่อย่างนั้นก็คงต้องตายเหมือนเพื่อนๆ ในกลุ่มอย่างแน่นอน"
ทุกวันนี้แม้เวลาจะผ่านมาถึง 7 ปีแล้ว แต่มิงบอกว่ายังจำเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในครั้งนั้นได้ดี เมื่อครบรอบเหตุการณ์วันที่ 28 เมษาฯในแต่ละปี เขาจะมานั่งคิดย้อนไปถึงช่วงนั้นว่าเขากับเพื่อนๆ ไปทำอะไรกัน โดยเฉพาะการประชุมที่น้ำตกในคืนก่อนวันที่ 28 เมษาฯ
"มันเป็นอะไรที่ลืมยากมาก เพื่อนต้องเจอจุดจบเพราะถูกหลอก เพราะรู้ไม่ทันคน"
แม้จะรู้ว่าถูกหลอก แต่เครื่องหมายคำถามก็ยังมีอยู่มากมายในหัวใจของมิง...
"ผมกับอีกหลายคนที่รอดชีวิตจากวันนั้นได้มานั่งถามกันเองว่าถูกใครหลอกกันแน่ เพราะบาบอและอุสตาซที่มาปลุกระดมก็หายตัวไปหลังจากเกิดเหตุ ทั้งๆ ที่เขาไม่ได้ตาย ส่วนเจ้าหน้าที่รัฐเองก็รู้ทัน แม้ช่วงเวลานั้นเป็นช่วงที่มีการสับเปลี่ยนกำลัง ผมเลยไม่รู้ว่าการตายครั้งนั้นเกิดจากกลุ่มขบวนการหลอกหรือเจ้าหน้าที่รัฐหลอกกันแน่" มิงตั้งคำถามทิ้งท้าย
คำถามอันแหลมคมของมิง จะว่าไปก็เป็นคำถามที่กรรมาธิการวิสามัญวุฒิสภาบางท่านเคยตั้งมาแล้วว่าฝ่ายความมั่นคงน่าจะรู้ล่วงหน้าเกี่ยวกับเหตุการณ์วันที่28 เมษาฯ แต่ทำไมถึงเลือกใช้วิธีการในลักษณะกวาดล้าง หรือเพราะประเมินว่ากำลังคนของฝ่ายก่อความไม่สงบน่าจะมีอยู่เท่านี้
ทว่าสถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้นับจากวันนั้นจนถึงวันนี้ได้พิสูจน์ให้เห็นแล้วว่าเหตุการณ์วันที่ 28 เมษาฯ โดยเฉพาะที่มัสยิดกรือเซะนั้น ได้กลายเป็นการสร้างเงื่อนไขใหม่ให้เกิดการปลุกปั่นปลุกระดมและความแค้น มีเครือข่ายแนวร่วมก่อความไม่สงบขยายวงกว้างมากขึ้นจนเหตุการณ์ความไม่สงบบานปลายมาจนถึงปัจจุบัน
ฉะนั้นหากเด็กหนุ่มอย่างมิงและเพื่อนๆของเขาถูกคนของขบวนการแบ่งแยกดินแดนหรืออ้างว่ามีอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนหลอกเพื่อผลอย่างใดอย่างหนึ่ง คำถามที่รัฐต้องตอบก็คือ แล้วเจ้าหน้าที่รัฐโดยเฉพาะฝ่ายทหารที่ปฏิบัติการในวันนั้นถูกใครหลอก...
ใครกันที่ทำให้เหตุการณ์กรือเซะกลายเป็นประวัติศาสตร์บาดแผล และเป็นเชื้อเพลิงให้ไฟใต้คุโชน?
( เรื่อง / ภาพ ทีมข่าวอิศรา )
No comments:
Post a Comment