Wednesday, April 13, 2016

หากการปิดตา- หู- ปาก ของประชาชน แล้ว ทรราช คสช. คิดว่านั้นคือการทำประชามติ แล้วล่ะก็..............ผิด

หากการปิดตา- หู- ปาก ของประชาชน แล้ว ทรราช คสช. คิดว่านั้นคือการทำประชามติ แล้วล่ะก็ .ทรราช คสช. คิดผิดแล้ว เพราะนั้นคือการ มัดมือชก ประชาชน ผู้เป็นเจ้าของประเทศ ให้ยอมรับ รัฐธรรมนูญโจร ต่างหากเล่า 

-----------------------------------------------------

"วัฒนา"ย้ำคสช.ควรเปิดพื้นที่ให้วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญ
-

นายวัฒนา เมืองสุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ โพสต์เฟซบุ๊ค Watana Muangsook หัวข้อ "ผมก็ไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ" โดยมีเนื้อหาดังนี้
-

ผมไม่สบายใจกับท่าทีของนายกรัฐมนตรีที่แสดงอารมณ์หงุดหงิด กรณีพรรคการเมืองใหญ่สองพรรคไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญและขอให้ คสช. เปิดเผยแนวทางหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ สอดรับกับท่าทีของ ผบ.ทบ. ที่แสดงการข่มขู่กลุ่มการเมืองที่ออกมาเคลื่อนไหว
-

ไทยเป็นสังคมนิติรัฐหรือสังคมที่ใช้กฎหมายเป็นหลักในการปกครอง เมื่อ คสช. ยึดอำนาจและประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2550 คสช. ย่อมเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดหรือเป็น "รัฏฐาธิปัตย์" แต่เมื่อ คสช. ได้ขอพระราชทานรัฐธรรมนูญเพื่อใช้ปกครองประเทศชั่วคราวจนกว่าจะได้ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คือการที่ คสช. ยอมตนที่จะอยู่ใต้รัฐธรรมนูญ เมื่อได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 แล้ว รัฐธรรมนูญย่อมเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ ที่ทุกคนซึ่งรวมถึง คสช. จะต้องให้ความเคารพและปฏิบัติตาม
-

ประเทศไทยอยู่ในขั้นตอนการนำร่างรัฐธรรมนูญให้ประชาชนออกเสียงประชามติ ทุกฝ่ายรวมถึงพรรคการเมืองมีสิทธิที่จะแสดงความเห็นทั้งสนับสนุนและคัดค้านต่อร่างรัฐธรรมนูญ ส่วนประชาชนก็มีสิทธิที่จะรับรู้ข้อมูลข่าวสารหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติ จึงไม่มีประเด็นถกเถียงว่าเป็นอำนาจของใคร
-

นอกจากนี้การที่นายกรัฐมนตรีแสดงความมั่นใจว่าร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านประชามติ หรือการที่ ผบ.ทบ. แสดงความเห็นว่าพรรคการเมืองที่คัดค้านรัฐธรรมนูญคือการไม่ให้เกียรติประชาชน หรือรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะนำพาประเทศชาติเดินไปข้างหน้าได้ คือการแสดงออกในเชิงสนับสนุนซึ่งก็ถือเป็นสิทธิของท่าน ส่วนผมหรือพรรคการเมืองที่ไม่เห็นด้วยก็ย่อมมีสิทธิที่จะแสดงออกได้เช่นเดียวกับท่านที่เป็นฝ่ายสนับสนุน
-

ผมยังยืนยันที่จะมีความเห็นต่อไปเพราะเป็นเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ หาใช่เป็นการสร้างความขัดแย้งหรือเป็นขาประจำอยากลองดี เพื่อให้มีคุณสมบัติเข้ารับการอบรมในหลักสูตรของ คสช. แต่อย่างใดไม่
-

การแสดงความคิดเห็นหรือการแถลงจุดยืนของพรรคการเมืองต่อร่างรัฐธรรมนูญ เป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขที่มาตรา 4 ของรัฐธรรมนูญชั่วคราวบัญญัติรับรองไว้ การที่ คสช. ให้สัมภาษณ์ทำนองว่าจะนำผู้ฝ่าฝืนมาเข้าในหลักสูตรการฝึกอบรมผู้นำการสร้างชาติอย่างสร้างสรรค์ จึงมีลักษณะเป็นการข่มขู่เพื่อจำกัดเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น ซึ่งนอกจากจะขัดกับหลักสิทธิมนุษยชนแล้วยังขัดกับรัฐธรรมนูญชั่วคราวที่ คสช. เป็นผู้ขอพระราชทานมาใช้บังคับเองอีกด้วย ปล่อยให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจบนข้อมูลที่ครบถ้วนดีกว่ามั้ยครับ ก็เพิ่งสำรวจพบรัฐบาลได้รับคะแนนนิยมสูงถึงร้อยละ 99.5 แบบนี้ยังจะกลัวอะไรอีก

-
วัฒนา เมืองสุข
พรรคเพื่อไทย
13 เมษายน 2559




No comments:

Post a Comment