Thanaboon Chiranuvat
ปํญหาของการไม่ให้หนังสือเดินทาง หรือ Passport =
การยกเลิกเพิกถอนหนังสือเดินทาง หรือ Passport
ทำได้โดยชอบด้วยกฏหมายระหว่างประเทศหรือไม่? (ตอนที่ ๑)
ขณะนี้ได้เกิดคำถามตัวโตๆขึ้น ท่ามกลางจิตใจของคนไทยโดยทั่วไปว่า: “การทำการเพิกถอน หนังสือเดินทาง (Passport) ของคนไทย ผู้ถือหนังสือเดินทาง [barer of passport] ที่ออกโดยรัฐบาลไทย [Thai Government]) ที่ถือกำเหนิดเกิดมาโดยพ่อแม่ที่มีสัญชาติไทย (เป็นคนไทยและได้สัญชาติไทยโดยสายเลือด) และการได้สัญชาติโดยหลักดินแดน (The Nationality conferred by the Territorial Rights) จะกระทำได้โดยชอบด้วยกฏหมายหรือไม่?”
การจะตอบคำถามข้อนี้ ก่อนอื่นท่านมีความจำเป็นต้องหารือกับคำว่า “กฏหมาย” ให้ดีเสียก่อนว่า ถ้อยคำๆนี้ หาได้หมายรวมถึง กฏหมายภายในของประเทศไทย แต่อย่างใดไม่ เพราะในประวัติศาสตร์ของไทยไม่เคยมีการบันทึกเรื่องราวของ การมีและใช้หนังสือเดินทาง แม้ว่าไทยหรือสยาม จะเคยติดต่อสัมพันธ์ทางการฑูตกับต่างประเทศ มาแต่สมัยสุโขทัย จนมาถึงกรุงศรีอยุธยา (ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ที่ส่งราชฑูตจากราชสำนักไทยไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศฝรั่งเศสก็ตาม ประเทศไทยหรือสยาม เพิ่งจะมามีการติดต่อค้าขายกับนานาประเทศอย่างชุก ก็ในยุคการล่าอาณานิคม (Colonialism) ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา แม้กระนั้นก็ไม่มีการบันทึกเรื่องราวถึง “หนังสือเดินทาง หรือ Passport” แต่อย่างใด
คนไทยที่ได้มีโอกาสศึกษาเกี่ยวกับกฏบัตร กฏหมายเริ่มมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ก็ไม่มีการเรียนการสอนในโรงเรียนกฏหมายเน้นหนักไปที่ความสำคัญเกี่ยวกับ หนังสือเดินทาง หรือ Passport แต่อย่างใด ทั้งที่ในเวลานั้นเรามีเรื่องของกงศุล และศาลกงศุล หรือจะเรียกอีกนัยหนึ่งว่า “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต หรือ Extra-Territorial Rights” เข้ามาเกี่ยวข้องผูกพันเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ เป็นประจำวันของคนไทยในสมัยนั้นแล้วก็ตาม
ในขณะเดียวกันกับประเทศในยุโรปผู้ล่าเมืองขึ้น กลับมีความเจนจัดและช่ำชองเกี่ยวกับเรื่องกฏหมายกงศุล (Consular Law or Consular Relations) กฏหมายที่เกี่ยวกับวิถีปฏิบัติในทางการฑูต (Diplomatic Relations) กฏหมายระหว่างประเทศ (Law of Nations or Classical International Law) กฏหมายทะเล (Law of the Sea)ไม่ว่าจะเป็นชาวดัชท์, อังกฤษ, ฝรั่งเศส หรือแม้แต่ชาวเสปญฯ เป็นต้น แต่คนไทย หรือคนในสยามประเทศ ก็ไม่สนใจในเรื่องที่กล่าวมานี้ วันนี้คนไทยที่เป็นคนส่วนใหญ่ จึงมีความเข้าใจไขว้เขวเกี่ยวกับ คำว่า “กฏหมาย” โดยคิดไปว่า จำเป็นต้องพิจารณาว่า “กฏหมายของไทย” เท่านั้นที่มีความสำคัญที่สุด
คนไทยไม่จำต้องไปพิจารณาโดยคำนึงถึงคำว่า “ กฏหมายระหว่างประเทศ หรือ Law of Nations or International Law ” เลย เพราะฉะนั้นคนไทยในทุกวันนี้ เป็นส่วนใหญ่ จึงตกอยู่ในภวังค์ หรือ ความคิดที่เรียกว่า “โง่ดักดาน” ทั้งๆที่โลกวันนี้ได้ผ่านห้วงเวลาของ “Y to K” หรือผ่านห้วงเวลาของ Millennium มาแล้ว พูดกันแบบง่ายๆ ผ่านค.ศ. ๒๐๐๐ มาแล้วแบบฉลุย และประเทศของเราเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติมาไม่ต่ำกว่า ๗๐ ปี แต่คนไทยก็ยังไม่รู้ซึ้งถึงผลของการไม่ยอมเรียนรู้ และขาดสำนึกกับการไม่ยอมรับว่า กับคำว่า “กฏหมาย” นั้นไม่รวมถึง “กฏหมายภายใน” ของประเทศไทยอย่างเดียว
แต่ตามความเป็นจริงนั้นให้หมายรวมไปถึง “กฏหมายระหว่างประเทศ หรือ International Law”หรือ Law of Nationsไปด้วย และการกระทำใด อันจะชอบ ด้วยครรลองของกฏหมาย สิ่งที่ต้องพิจารณาในลำดับแรกๆ ก็คือ “ความชอบด้วยกฏหมายระหว่างประเทศ” หรือไม่? มิฉะนั้นเรา ก็จะมองหาช่องทางให้หลุดรอดออกไปจาก ความวุ่นวาย (Chaos) ที่เราประสบอยู่ในขณะใดขณะหนึ่งในปัจจุบันนี้ไม่ได้ ถ้าเรา ยังมะงุมมะงาหรากับ การเที่ยวไปตีความคำว่า “กฏหมาย” เป็นแค่เพียง “กฏหมายภายในของไทย”เท่านั้น ในรูปแบบนักกฏหมายในโครงร่างของ “ศรีธนญชัย” ที่ล้าสมัย ต้องถามใจท่านให้ชัดเจนว่า “โลกในวันนี้คือโลกในยุคค.ศ. ๒๐๐๐”
เราไม่อยู่ในห้วงเวลา ที่นับว่า เป็นตอนต้นของคริตศตวรรษที่ ๑๗ คือหลังค.ศ. ๑๖๕๐ เรื่อยมาแล้ว เพราะในวันนั้น ต้องถือว่าโลกยังป่าเถื่อนอยู่ มีการใช้ “กฏโจร” แทนที่ “กฏหมาย”อยู่มาก มิฉะนั้นไม่เกิดสงครามครูเสด และสงครามโลกทั้งสองครั้งอุบัติขึ้นในโลกใบนี้ ซึ่งไม่นับรวมถึง สงครามอื่นๆอีกหลายสิบครั้งบนพื้นแผ่นดินของยุโรป
กล่าวโดยสรุปคำว่า “กฏหมาย” ย่อมหมายถึง “กฏหมายระหว่างประเทศ หรือ International Law หรือ Law of Nations” เป็นลำดับแรก ตามความในลำดับต่อๆไป ในบทความนี้ จึงเป็นเรื่องที่ถูกต้อง คำว่า “กฏหมายภายในของไทย” หาก จะมีการนำมาใช้ปรับได้ ก็ต่อเมื่อ “กฏหมายภายในของไทยนั้น ได้อภิวัฒน์ตามกฏหมายระหว่างประเทศจนทันแก่กาลสมัย” แล้วเท่านั้น.
๑. การขอมีหนังสือเดินทาง หรือ Passport เป็น สิทธิของพลเมือง (The Application to have the passport is the right of any citizen) ที่เกิดมาพร้อมกับความเป็นพลเมือง (It is borne out of the citizenship) ผู้ใดจะปฏิเสธเสียมิได้ (Nobody is entitled to negate or abridge such right).
ก่อนที่จะเข้าสู่การอธิบายในหัวเรื่องนี้ เห็นควรเน้นย้ำว่าสนธิสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงศุล ปีค.ศ.๑๙๖๓{The Vienna Convention on Consular Relations, 1963 Article 5 in accordance with Article 36 (1), (2) and (3)} บทบัญญัติที่ ๕ (d) ประกอบด้วยบทบัญญัติที่ ๓๖ (๑), (๒) และ (๓) บัญญัติให้กงศุล หรือเจ้าหน้าที่กงศุล ต้องกระทำการทุกๆอย่างเพื่อเป็นการให้สิทธิแก่คนในชาติของตน และมิใช่กระทำการใดๆอันเป็นการทำลายสิทธิของคนในชาติของตน
การเพิกถอนสิทธิต่างๆในหนังสือเดินทาง (Passport) หรือ การยกเลิก เพิกถอนหนังสือเดินทาง (Passport) ล้วนเป็นไป เพื่อ เป็นการทำลายสิทธิ ของผู้ถือหนังสือเดินทาง (Bearer of the Passport) ทั้งสิ้น จึงมีคำถามเกิดขึ้นว่า ทำได้ หรือไม่? คำตอบก็คือทำไม่ได้โดยเด็ดขาด ซึ่งจะได้ยกตัวอย่างคดีมาให้ท่านผู้อ่านได้เห็น ได้อ่านกันทั้งสองคดี:
คดีหนึ่งพิพากษาโดยศาล Supreme Court ของสหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่เป็นศาลรัฐธรรมนูญ อีกคดีหนึ่งเป็นการตัดสินโดยศาลโลก หรือ The International Court of Justice, ICJ (แกนหลักที่ ๖ ขององค์การสหประชาชาติ) เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของกงศุล
ศาลโลกตีความบทบัญญัติที่ ๕ (d) ว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกงศุล ประกอบบทบัญญัติที่ ๓๖ (๑), (๒) และ (๓) ของสนธิสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงศุล ปีค.ศ. ๑๙๖๓ (The Vienna Convention on Consular Relations, 1963)
ทั้งนี้โดยศาลโลกได้ตีความโดยได้เน้นย้ำไป ที่อำนาจหน้าที่ของกงศุลกับคนในชาติของตนว่า กงศุลมีหน้าที่ต้องรักษาผลประโยชน์ให้แก่คนในชาติของตนในทุกสถานการณ์ และในบางสถานการณ์ เช่น คนในชาติของตน ถูกจับกุมคุมขัง อยู่ในระหว่างการดำเนินคดีในประเทศ ที่สถานกงศุลของตนตั้งอยู่ หรือแม้แต่คนในชาติของตน ถูกศาลยุติธรรมพิพากษาหรือ ตัดสินในคดีจนถึงที่สุด และมีการบังคับคดีในศาลแล้ว โดยศาล ที่ว่านั้นของประเทศที่สถานกงศุลตั้งอยู่ฯลฯ เป็นต้น กงศุลมีอำนาจหน้าที่ๆ ต้องปฏิบัติต่อคนในชาติของตนจนถึงที่สุด โดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ (ให้ไปดูสนธิสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงศุล ปีค.ศ.๑๙๖๓ (The Vienna Convention on Consular Relations, 1963) ตามที่กล่าวมา
อนึ่งการที่บุคคลที่เป็นคนในชาติไปขอมีหนังสือเดินทาง (Passport) ไม่ว่าคนในชาติบุคคลคนนั้น จะเกิดการได้สัญชาติมา โดยหลักสายเลือด (พ่อแม่เป็นคนในชาติสมรสกันแล้ว ก่อเกิดบุคคลผู้นั้นออกมา) หรือบุคคลผู้นั้นเกิดหรือคลอดออกมาเป็นทารกและมีลมหายใจอยู่รอดในแผ่นดินที่ ตนคลอด อันเรียกว่าได้สัญชาติโดยหลักดินแดน (Acquiring the Nationality by Territorial Principles) หรือแม้แต่การได้สัญชาติของดินแดน ที่ตนอยู่อาศัยตามกฏหมาย ที่เรียกว่า “การได้สัญชาติโดยการโอนสัญชาติ” (Acquiring the Nationality by Naturalization) ก็ตาม และปรากฏว่าในเวลาต่อมารัฐ หรือ ชาติ (State or Nation) ปฏิเสธสิทธิที่จะได้มี หรือได้ครอบครองหนังสือเดินทาง (Passport) ของบุคคลในรัฐหรือชาตินั้น (State or Nation)
การที่รัฐผู้มีหน้าที่ต้องออกหนังสือเดินทาง (Passport) เพราะบุคคลผู้นั้นเป็นผู้ถือสัญชาติของตน ปฏิเสธไม่ออกหนังสือเดินทาง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดในทางสังคมหรือในทางการเมืองตามความเชื่อของผู้มีสิทธิ ที่จะได้หนังสือเดินทาง หรือบุคคลผู้นั้น ถูกยกเลิก เพิกถอนหนังสือเดินทาง (Passport) ที่อยู่ในความครอบครองของตน โดยรัฐ เจ้าของหนังสือเดินทาง ซึ่งเป็นการกระทำที่เสมอเหมือนกัน หรือเป็นอย่างเดียวกัน นั่นก็คือ การปฏิเสธไม่ให้บุคคลผู้นั้น มีหนังสือเดินทาง (Passport) ของรัฐหรือชาติ ที่บุคคลผู้นั้น ถือสัญชาติ และ สังกัดอยู่ และในที่สุดทำให้บุคคลผู้นั้น กลายเป็นบุคคลไร้รัฐ (Stateless Person)
การที่รัฐปฏิเสธ ไม่ให้หนังสือเดินทาง= ยกเลิกเพิกถอนหนังสือเดินทางของคนในรัฐ แก่คนที่ถือสัญชาติของรัฐ, การกระทำของรัฐ=ทำให้บุคคลนั้น กลายเป็นบุคคลไร้รัฐ (Stateless Person)
และในที่สุดทำให้บุคคลผู้นั้น กลายเป็นบุคคลไร้รัฐ (Stateless Person) ที่มีสนธิสัญญาว่าด้วย บุคคลไร้รัฐ ของสหประชาชาติ ที่ได้ประกาศ และ บังคับใช้เพื่อคุ้มครองบุคคลใดๆ ที่ตกอยู่ในสภาพการอย่างที่ว่านั้นอยู่ ซึ่งจะได้นำเสนอในตอนท้ายของบทความนี้ รวมทั้งสหประชาชาติ มีอำนาจออกหนังสือเดินทางเองโดยอำนาจขององค์การตัวเองเสียด้วยซ้ำไป ทั้งนี้ก็เพื่อจะปกป้องสิทธิ ที่เกิดมาตามธรรมชาติ (Natural Rights) ให้แก่มนุษย์ทุกผู้ทุกนาม ที่ยังมีลมหายใจอยู่บนพื้นพิภพนี้.............(มีต่อ)
ขณะนี้ได้เกิดคำถามตัวโตๆขึ้น ท่ามกลางจิตใจของคนไทยโดยทั่วไปว่า: “การทำการเพิกถอน หนังสือเดินทาง (Passport) ของคนไทย ผู้ถือหนังสือเดินทาง [barer of passport] ที่ออกโดยรัฐบาลไทย [Thai Government]) ที่ถือกำเหนิดเกิดมาโดยพ่อแม่ที่มีสัญชาติไทย (เป็นคนไทยและได้สัญชาติไทยโดยสายเลือด) และการได้สัญชาติโดยหลักดินแดน (The Nationality conferred by the Territorial Rights) จะกระทำได้โดยชอบด้วยกฏหมายหรือไม่?”
การจะตอบคำถามข้อนี้ ก่อนอื่นท่านมีความจำเป็นต้องหารือกับคำว่า “กฏหมาย” ให้ดีเสียก่อนว่า ถ้อยคำๆนี้ หาได้หมายรวมถึง กฏหมายภายในของประเทศไทย แต่อย่างใดไม่ เพราะในประวัติศาสตร์ของไทยไม่เคยมีการบันทึกเรื่องราวของ การมีและใช้หนังสือเดินทาง แม้ว่าไทยหรือสยาม จะเคยติดต่อสัมพันธ์ทางการฑูตกับต่างประเทศ มาแต่สมัยสุโขทัย จนมาถึงกรุงศรีอยุธยา (ในสมัยแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) ที่ส่งราชฑูตจากราชสำนักไทยไปเจริญทางพระราชไมตรีกับประเทศฝรั่งเศสก็ตาม ประเทศไทยหรือสยาม เพิ่งจะมามีการติดต่อค้าขายกับนานาประเทศอย่างชุก ก็ในยุคการล่าอาณานิคม (Colonialism) ซึ่งเริ่มมาตั้งแต่ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา แม้กระนั้นก็ไม่มีการบันทึกเรื่องราวถึง “หนังสือเดินทาง หรือ Passport” แต่อย่างใด
คนไทยที่ได้มีโอกาสศึกษาเกี่ยวกับกฏบัตร กฏหมายเริ่มมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ก็ไม่มีการเรียนการสอนในโรงเรียนกฏหมายเน้นหนักไปที่ความสำคัญเกี่ยวกับ หนังสือเดินทาง หรือ Passport แต่อย่างใด ทั้งที่ในเวลานั้นเรามีเรื่องของกงศุล และศาลกงศุล หรือจะเรียกอีกนัยหนึ่งว่า “สิทธิสภาพนอกอาณาเขต หรือ Extra-Territorial Rights” เข้ามาเกี่ยวข้องผูกพันเกี่ยวกับชีวิตความเป็นอยู่ เป็นประจำวันของคนไทยในสมัยนั้นแล้วก็ตาม
ในขณะเดียวกันกับประเทศในยุโรปผู้ล่าเมืองขึ้น กลับมีความเจนจัดและช่ำชองเกี่ยวกับเรื่องกฏหมายกงศุล (Consular Law or Consular Relations) กฏหมายที่เกี่ยวกับวิถีปฏิบัติในทางการฑูต (Diplomatic Relations) กฏหมายระหว่างประเทศ (Law of Nations or Classical International Law) กฏหมายทะเล (Law of the Sea)ไม่ว่าจะเป็นชาวดัชท์, อังกฤษ, ฝรั่งเศส หรือแม้แต่ชาวเสปญฯ เป็นต้น แต่คนไทย หรือคนในสยามประเทศ ก็ไม่สนใจในเรื่องที่กล่าวมานี้ วันนี้คนไทยที่เป็นคนส่วนใหญ่ จึงมีความเข้าใจไขว้เขวเกี่ยวกับ คำว่า “กฏหมาย” โดยคิดไปว่า จำเป็นต้องพิจารณาว่า “กฏหมายของไทย” เท่านั้นที่มีความสำคัญที่สุด
คนไทยไม่จำต้องไปพิจารณาโดยคำนึงถึงคำว่า “ กฏหมายระหว่างประเทศ หรือ Law of Nations or International Law ” เลย เพราะฉะนั้นคนไทยในทุกวันนี้ เป็นส่วนใหญ่ จึงตกอยู่ในภวังค์ หรือ ความคิดที่เรียกว่า “โง่ดักดาน” ทั้งๆที่โลกวันนี้ได้ผ่านห้วงเวลาของ “Y to K” หรือผ่านห้วงเวลาของ Millennium มาแล้ว พูดกันแบบง่ายๆ ผ่านค.ศ. ๒๐๐๐ มาแล้วแบบฉลุย และประเทศของเราเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติมาไม่ต่ำกว่า ๗๐ ปี แต่คนไทยก็ยังไม่รู้ซึ้งถึงผลของการไม่ยอมเรียนรู้ และขาดสำนึกกับการไม่ยอมรับว่า กับคำว่า “กฏหมาย” นั้นไม่รวมถึง “กฏหมายภายใน” ของประเทศไทยอย่างเดียว
แต่ตามความเป็นจริงนั้นให้หมายรวมไปถึง “กฏหมายระหว่างประเทศ หรือ International Law”หรือ Law of Nationsไปด้วย และการกระทำใด อันจะชอบ ด้วยครรลองของกฏหมาย สิ่งที่ต้องพิจารณาในลำดับแรกๆ ก็คือ “ความชอบด้วยกฏหมายระหว่างประเทศ” หรือไม่? มิฉะนั้นเรา ก็จะมองหาช่องทางให้หลุดรอดออกไปจาก ความวุ่นวาย (Chaos) ที่เราประสบอยู่ในขณะใดขณะหนึ่งในปัจจุบันนี้ไม่ได้ ถ้าเรา ยังมะงุมมะงาหรากับ การเที่ยวไปตีความคำว่า “กฏหมาย” เป็นแค่เพียง “กฏหมายภายในของไทย”เท่านั้น ในรูปแบบนักกฏหมายในโครงร่างของ “ศรีธนญชัย” ที่ล้าสมัย ต้องถามใจท่านให้ชัดเจนว่า “โลกในวันนี้คือโลกในยุคค.ศ. ๒๐๐๐”
เราไม่อยู่ในห้วงเวลา ที่นับว่า เป็นตอนต้นของคริตศตวรรษที่ ๑๗ คือหลังค.ศ. ๑๖๕๐ เรื่อยมาแล้ว เพราะในวันนั้น ต้องถือว่าโลกยังป่าเถื่อนอยู่ มีการใช้ “กฏโจร” แทนที่ “กฏหมาย”อยู่มาก มิฉะนั้นไม่เกิดสงครามครูเสด และสงครามโลกทั้งสองครั้งอุบัติขึ้นในโลกใบนี้ ซึ่งไม่นับรวมถึง สงครามอื่นๆอีกหลายสิบครั้งบนพื้นแผ่นดินของยุโรป
กล่าวโดยสรุปคำว่า “กฏหมาย” ย่อมหมายถึง “กฏหมายระหว่างประเทศ หรือ International Law หรือ Law of Nations” เป็นลำดับแรก ตามความในลำดับต่อๆไป ในบทความนี้ จึงเป็นเรื่องที่ถูกต้อง คำว่า “กฏหมายภายในของไทย” หาก จะมีการนำมาใช้ปรับได้ ก็ต่อเมื่อ “กฏหมายภายในของไทยนั้น ได้อภิวัฒน์ตามกฏหมายระหว่างประเทศจนทันแก่กาลสมัย” แล้วเท่านั้น.
๑. การขอมีหนังสือเดินทาง หรือ Passport เป็น สิทธิของพลเมือง (The Application to have the passport is the right of any citizen) ที่เกิดมาพร้อมกับความเป็นพลเมือง (It is borne out of the citizenship) ผู้ใดจะปฏิเสธเสียมิได้ (Nobody is entitled to negate or abridge such right).
ก่อนที่จะเข้าสู่การอธิบายในหัวเรื่องนี้ เห็นควรเน้นย้ำว่าสนธิสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงศุล ปีค.ศ.๑๙๖๓{The Vienna Convention on Consular Relations, 1963 Article 5 in accordance with Article 36 (1), (2) and (3)} บทบัญญัติที่ ๕ (d) ประกอบด้วยบทบัญญัติที่ ๓๖ (๑), (๒) และ (๓) บัญญัติให้กงศุล หรือเจ้าหน้าที่กงศุล ต้องกระทำการทุกๆอย่างเพื่อเป็นการให้สิทธิแก่คนในชาติของตน และมิใช่กระทำการใดๆอันเป็นการทำลายสิทธิของคนในชาติของตน
การเพิกถอนสิทธิต่างๆในหนังสือเดินทาง (Passport) หรือ การยกเลิก เพิกถอนหนังสือเดินทาง (Passport) ล้วนเป็นไป เพื่อ เป็นการทำลายสิทธิ ของผู้ถือหนังสือเดินทาง (Bearer of the Passport) ทั้งสิ้น จึงมีคำถามเกิดขึ้นว่า ทำได้ หรือไม่? คำตอบก็คือทำไม่ได้โดยเด็ดขาด ซึ่งจะได้ยกตัวอย่างคดีมาให้ท่านผู้อ่านได้เห็น ได้อ่านกันทั้งสองคดี:
คดีหนึ่งพิพากษาโดยศาล Supreme Court ของสหรัฐอเมริกา ทำหน้าที่เป็นศาลรัฐธรรมนูญ อีกคดีหนึ่งเป็นการตัดสินโดยศาลโลก หรือ The International Court of Justice, ICJ (แกนหลักที่ ๖ ขององค์การสหประชาชาติ) เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของกงศุล
ศาลโลกตีความบทบัญญัติที่ ๕ (d) ว่าด้วยอำนาจหน้าที่ของกงศุล ประกอบบทบัญญัติที่ ๓๖ (๑), (๒) และ (๓) ของสนธิสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงศุล ปีค.ศ. ๑๙๖๓ (The Vienna Convention on Consular Relations, 1963)
ทั้งนี้โดยศาลโลกได้ตีความโดยได้เน้นย้ำไป ที่อำนาจหน้าที่ของกงศุลกับคนในชาติของตนว่า กงศุลมีหน้าที่ต้องรักษาผลประโยชน์ให้แก่คนในชาติของตนในทุกสถานการณ์ และในบางสถานการณ์ เช่น คนในชาติของตน ถูกจับกุมคุมขัง อยู่ในระหว่างการดำเนินคดีในประเทศ ที่สถานกงศุลของตนตั้งอยู่ หรือแม้แต่คนในชาติของตน ถูกศาลยุติธรรมพิพากษาหรือ ตัดสินในคดีจนถึงที่สุด และมีการบังคับคดีในศาลแล้ว โดยศาล ที่ว่านั้นของประเทศที่สถานกงศุลตั้งอยู่ฯลฯ เป็นต้น กงศุลมีอำนาจหน้าที่ๆ ต้องปฏิบัติต่อคนในชาติของตนจนถึงที่สุด โดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ (ให้ไปดูสนธิสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงศุล ปีค.ศ.๑๙๖๓ (The Vienna Convention on Consular Relations, 1963) ตามที่กล่าวมา
อนึ่งการที่บุคคลที่เป็นคนในชาติไปขอมีหนังสือเดินทาง (Passport) ไม่ว่าคนในชาติบุคคลคนนั้น จะเกิดการได้สัญชาติมา โดยหลักสายเลือด (พ่อแม่เป็นคนในชาติสมรสกันแล้ว ก่อเกิดบุคคลผู้นั้นออกมา) หรือบุคคลผู้นั้นเกิดหรือคลอดออกมาเป็นทารกและมีลมหายใจอยู่รอดในแผ่นดินที่ ตนคลอด อันเรียกว่าได้สัญชาติโดยหลักดินแดน (Acquiring the Nationality by Territorial Principles) หรือแม้แต่การได้สัญชาติของดินแดน ที่ตนอยู่อาศัยตามกฏหมาย ที่เรียกว่า “การได้สัญชาติโดยการโอนสัญชาติ” (Acquiring the Nationality by Naturalization) ก็ตาม และปรากฏว่าในเวลาต่อมารัฐ หรือ ชาติ (State or Nation) ปฏิเสธสิทธิที่จะได้มี หรือได้ครอบครองหนังสือเดินทาง (Passport) ของบุคคลในรัฐหรือชาตินั้น (State or Nation)
การที่รัฐผู้มีหน้าที่ต้องออกหนังสือเดินทาง (Passport) เพราะบุคคลผู้นั้นเป็นผู้ถือสัญชาติของตน ปฏิเสธไม่ออกหนังสือเดินทาง ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดในทางสังคมหรือในทางการเมืองตามความเชื่อของผู้มีสิทธิ ที่จะได้หนังสือเดินทาง หรือบุคคลผู้นั้น ถูกยกเลิก เพิกถอนหนังสือเดินทาง (Passport) ที่อยู่ในความครอบครองของตน โดยรัฐ เจ้าของหนังสือเดินทาง ซึ่งเป็นการกระทำที่เสมอเหมือนกัน หรือเป็นอย่างเดียวกัน นั่นก็คือ การปฏิเสธไม่ให้บุคคลผู้นั้น มีหนังสือเดินทาง (Passport) ของรัฐหรือชาติ ที่บุคคลผู้นั้น ถือสัญชาติ และ สังกัดอยู่ และในที่สุดทำให้บุคคลผู้นั้น กลายเป็นบุคคลไร้รัฐ (Stateless Person)
การที่รัฐปฏิเสธ ไม่ให้หนังสือเดินทาง= ยกเลิกเพิกถอนหนังสือเดินทางของคนในรัฐ แก่คนที่ถือสัญชาติของรัฐ, การกระทำของรัฐ=ทำให้บุคคลนั้น กลายเป็นบุคคลไร้รัฐ (Stateless Person)
และในที่สุดทำให้บุคคลผู้นั้น กลายเป็นบุคคลไร้รัฐ (Stateless Person) ที่มีสนธิสัญญาว่าด้วย บุคคลไร้รัฐ ของสหประชาชาติ ที่ได้ประกาศ และ บังคับใช้เพื่อคุ้มครองบุคคลใดๆ ที่ตกอยู่ในสภาพการอย่างที่ว่านั้นอยู่ ซึ่งจะได้นำเสนอในตอนท้ายของบทความนี้ รวมทั้งสหประชาชาติ มีอำนาจออกหนังสือเดินทางเองโดยอำนาจขององค์การตัวเองเสียด้วยซ้ำไป ทั้งนี้ก็เพื่อจะปกป้องสิทธิ ที่เกิดมาตามธรรมชาติ (Natural Rights) ให้แก่มนุษย์ทุกผู้ทุกนาม ที่ยังมีลมหายใจอยู่บนพื้นพิภพนี้.............(มีต่อ)
No comments:
Post a Comment