Wednesday, July 22, 2015

มันกลัวประชาชนขนาดต้องให้กวีกะจอก ออกมาสร้างวาทกรรมต้านกระแสปวงชนเรอะ...


มันกลัวประชาชนขนาดต้องให้กวีกะจอก ออกมาสร้างวาทกรรมต้านกระแสปวงชนเรอะ...
เหอ ๆ แถมออกสื่อฝั่ง ปชต. ซะด้วย

===================================

เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์: ประชาธิปไตยไม่ใช่ประชาชนเป็นใหญ่
วันที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เวลา 17:59:44 น.
________________________
มติชนสุดสัปดาห์ 17-23 กรกฎาคม 2558

เคยนิยามความหมายของคำ "ประชาธิปไตย" ไว้ว่า

"ประชาธิปไตย คืออำนาจอันชอบธรรมของประชาชนในการบริหารและจัดการเรื่องที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวมเป็นหลักและเป็นใหญ่"

หากจะแปลตามศัพท์ก็คือ "อำนาจของประชาเป็นใหญ่" จากศัพท์ ประชา คือ ประชาชน หรือคนทั่วไป อธิปไตย คืออำนาจอันเป็นใหญ่

ก็คือ "อำนาจของประชาเป็นใหญ่" นี่แหละคือคำแปลตรงตามตัวของคำว่า "ประชาธิปไตย"

ความหมายทางธรรมยังเน้นถึงการ "ถือเอา" ดังที่เรียกว่า "ปรารภ" เป็นหลักด้วย ในที่นี้จึงหมายถึงการ "ถือเอา" ประชาชนเป็นหลัก

เพราะฉะนั้น จะแปลให้ครบความ ก็ต้องว่า

"อำนาจอันเป็นใหญ่ของประชาชนเป็นหลัก"

โดยเน้นหรือปรารภเอาประชาชนเป็นหลักว่าเป็นผู้มีอำนาจเป็นใหญ่

ไม่ใช่ประชาชนเป็นใหญ่

ทางธรรม ไม่มีคำประชาธิปไตย หากมีจำเพาะเพียงสามคำ คือ อัตตาธิปไตย หมายถึง ปรารภตนเป็นหลัก โลกาธิปไตย หมายถึง ปรารภโลกเป็นหลัก กับ ธัมมาธิปไตย หมายถึง ปรารภธรรมเป็นหลัก

คืออำนาจอันเป็นใหญ่ของตน (อัตตาธิปไตย) ของโลก (โลกาธิปไตย) ของธรรม (ธัมมาธิปไตย) นั่นเอง

ศัพท์ "ประชาธิปไตย" เป็นคำนิยามใหม่ โดยถือเอาหรือปรารภเอา "ประชาชน" เป็นหลัก ซึ่งที่จริง ความหมายของคำประชาชนนั้นก็คือ คนทั่วไป เพราะฉะนั้น ประชาชนคนทั่วไปจึงกินความกว้าง ซึ่งหมายถึง อัตตาเฉพาะตนก็ได้ โลกาคือคนทั้งโลกก็ได้ และธัมมาคือคนดีก็ได้ นี่ว่าโดยกินความไปที่ "คน" เป็นหลัก

นี่กระมังคือประชาธิปไตยแบบไทยๆ ที่กำลังพัฒนากันอยู่ในบ้านเราเวลานี้

คือ อำนาจที่ถือของตนและพวกของตนเป็นหลักและเป็นใหญ่ ซึ่งก็คือ "อัตตาธิปไตย"

อำนาจที่ถือเอาตามความเห็นดีเห็นงามอย่างโลกย์ๆ เช่นทุนสามานย์เป็นหลัก ซึ่งก็คือ "โลกาธิปไตย"

สุดท้ายที่ควรเป็นคือ การถือเอาความถูกต้อง เป็นธรรม เป็นหลัก ซึ่งก็คือ "ธัมมาธิปไตย"



ประชาธิปไตยไทยๆ แบบบ้านเราวันนี้ดูจะยังวนเวียนต้วมเตี้ยมอยู่แค่หนึ่งกับสอง คือ อัตตาธิปไตยกับโลกาธิปไตย สองขั้วสองค่ายนี่แหละเป็นสำคัญ คือมีลักษณะทั้ง "พวกมากลากไป" กับยอมเป็นเหยื่อ "ทุนต่างชาติ" ซึ่งมักเป็นทุนสามานย์อยู่ร่ำไป ไม่ว่าจะในรูปของการลงทุนหรือแม้ในรูปการช่วยเหลือ

ที่จะเป็น "ธัมมาธิปไตย" แท้จริงนั้นน้อยนัก ถึงแม้หากจะมีก็ที่มักมาในรูป "วาทกรรม" โรจน์รุ่งสูงส่ง

ชนิดพูดอีกก็ถูกอีก

ก็มันจะผิดไปได้อย่างไรในเมื่อพูดแต่สิ่งที่ถูกอยู่นี่

จะอย่างไรก็ตาม ประชาธิปไตยต้องถือเอาธัมมาธิปไตยเป็นหลัก นั่นคือ ถือเอาความถูกต้องชอบธรรมเป็นหลัก

นิยามความหมายข้างต้น จึงกล่าวเป็นเบื้องต้นว่า

"...คืออำนาจอันชอบธรรมของประชาชน..."



อํานาจอันชอบธรรมของประชาชนนี้ ประธานาธิบดีลินคอร์น แห่งสหรัฐอเมริกา เคยกล่าววาทะอมตะว่า ของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน

นี้คืออำนาจอันชอบธรรมว่า ต้องเป็นของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน

นั่นคือ อำนาจนี้เป็น "ของ" ประชาชนมาแต่เดิม การจะให้ได้มาซึ่งอำนาจต้องเป็นไป "โดย" ประชาชนเป็นผู้มอบให้เท่านั้น และการใช้อำนาจก็ต้องเป็นไป "เพื่อ" ประชาชนเท่านั้น

นี่เป็นความ "ชอบธรรม" โดยหลักการอย่างกว้างสุด

ท่านอาจารย์พุทธทาสภิกขุ ได้ขยายความ "ชอบธรรม" ลงไปที่เนื้อหาอีกขั้นหนึ่งโดยมุ่งไปที่

"ประโยชน์ของประชาเป็นใหญ่"

อำนาจโดยชอบธรรมต้องถือเอา "ประโยชน์ของประชาเป็นใหญ่" ไม่ว่าจะ ของประชา โดยประชา เพื่อประชา นี่แหละ จะต้อง "ปรารภ" หรือ "ถือเอา" "ประโยชน์ของประชาเป็นใหญ่" คือ เป็นสำคัญ โดยแท้

อำนาจที่ผิดไปจากนี้ ไม่ถือเป็นอำนาจอันชอบธรรม

เพราะฉะนั้น ไม่ว่าจะ "ของ" จะ "โดย" จะ "เพื่อ" ถ้าไม่ถือเอา "ประโยชน์ของประชาเป็นใหญ่" หรือเป็นสำคัญแล้ว ชื่อว่าเป็นอำนาจไม่ชอบธรรมในความหมายของ "ประชาธิปไตย" เชิง "ธัมมาธิปไตย" ทั้งสิ้น


บทนิยามความประชาธิปไตยข้างต้น จึงรวมความหมายของประชาธิปไตยเชิงธัมมาธิปไตย ที่ตัดเอาสองเชิง คือ อัตตาธิปไตย กับ โลกาธิปไตย ออก มุ่งเน้นให้เป็นธัมมาธิปไตย เป็นสำคัญโดยส่วนเดียว

อำนาจอันชอบธรรมของประชาชน คือเน้นความเป็น "เจ้าของ" เป็นสำคัญ และเน้นไปที่การได้มาซึ่งอำนาจนี้ในการใช้ว่าต้องเป็นไป "โดย" ชอบธรรมด้วย ไม่ว่าจะเป็นการมอบให้ด้วยการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งก็ตาม

ความขยายต่อไปคือ การใช้อำนาจนั่นเอง ว่า "...ในการบริหารจัดการเรื่องที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของส่วนรวมเป็นหลัก..." นี่คือการกำหนดความชอบธรรมของการใช้อำนาจนั้น

อำนาจนั้นมีสองขั้นตอน คือ การได้มา กับ การใช้

ลงท้ายต่อจาก "เป็นหลัก" ก็คือ "เป็นใหญ่" ในที่นี้ขยายความถึง อำนาจข้างต้น คือ "อำนาจอันเป็นใหญ่" โดยปรารภ "ประชาชนเป็นหลัก"

ทั้งหมดนี้มี "ประโยชน์ของประชา" เป็นสำคัญนั่นเอง

โปรดฟังอีกครั้ง
"ประชาธิปไตย คืออำนาจอันชอบธรรมของประชาชนในการบริหารจัดการเรื่องที่เป็นไปเพื่อประโยชน์สุขของประชาชนเป็นหลัก และเป็นใหญ่"
ไม่ใช่ประชาชนเป็นใหญ่โดยแท้



No comments:

Post a Comment