เรียนดร. ในยุค1930 อเมริกามีการปลุกกระแสตลาดหุ้นอย่างหนักเพื่อให้คนนำเงินเข้าสู่ตลาดแทนที่จะฝากธนาคาร สุดท้ายเศรฐกิจได้ล่มสลายคนตกงานสิบกว่าล้านคน ในยุคเดียวกันนี้เองได้เกิดแนวความคิดของการสร้างสิ่งที่ทำให้เกิดการจ้างงานหรือเรียกว่าการเปิดสลอตใหม่ให้มีการหมุนเวียนของเงินเป็นวงรอบ แทนที่จะรอว่าสิ่งใดเป็นที่ต้องการตลาดและสร้างสิ่งตอบสนอง ตามแนวความคิดแบบเศรฐศาสตร์คลาสิค ปี40 ประเทศไทยเกิดวิกฤตขึ้น ในปี44 มีการใช้แนวคิด เคนเชี่ยนเข้ามาเกิดสิ่งใหม่ขึ้นมากมายในสังคมไทยเงินเกิดการหมุนเวียนไปทุกหนแห่ง แต่ระบบแบบนี้ไม่เป็นผลดีแน่ต่อระบบผูกขาดเนื่องจาก เกิดคู่แข่งหน้าใหม่ขึ้นมากมายและฝั่ง ดีมาน สามารถเลือกผู้จะซัพพลายตัวเองได้มากขึ้น ผู้เคยเป็นแรงงานก็มีโอกาสเข้าสู่สลอตใหม่ที่ถูกเปิดไว้ทำให้ระบบเก่าระส่ำระสายเนื่องจากขาดแรงงาน เป็นผลให้เล็งเห็นว่าระบบนี้เป็นภัยต่อกลุ่มทุนผูกขาดอย่างมหันส์ นอกจากเสียแรงงานแล้วแรงงานนั้นยังกลับสามารถพัฒนาตัวเองมาเป็นคู่แข็งที่น่ากลัว จนเกิดประโยคที่ว่า "เราไม่เน้นแต่ค่า จีดีพี " ของพรรคตรงข้าม เขาเลยเรียกระบบนี้ว่าทุนสามานย์ เพื่อสร้างความชอบธรรมให้ระบบผูกขาด (ปล.เมื่อใดก็ตามคู่ค้ารายใหญ่มีตัวเลือกที่ดีกว่าเมื่อนั้นความจริงจะถูกเปิดเผยทั้งประเทศ ว่าปัจจัยสี่ของคนไทยถูกผูกขาดเพื่อใช้ต่อรองกับผู้ถูกปกครองว่าอย่ากระด้างกระเดื่อง) ด้วยความเคารพอย่างสูง
Tuesday, August 25, 2015
ทุนสามานย์
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment